วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่15



วันนี้อาจารย์ให้ทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่ม กลุ่มของดิฉันได้ทำข้าวผัดทูน่า และทับทิมกรอบ 


ช่วยอาจารย์ปั้นบัวลอย





ประเมินอาจารย์

อาจารย์ทำบัวลอยอร่อย ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำอาหารสำหรับเด็กได้ดี

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆช่วยกันทำงานดีมากในแต่ละกลุ่ม

ประเมินตนเอง

มีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำอาหาร ช่วยอาจารย์ปั้นบัวลอย
























วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่14




         อาจารย์ให้นำเสนองานเป็นกลุ่ม กลุ่มดิฉันได้หัวข้อมีวินัย ได้นำเสนอแบบเป็นการ์ตูนที่สอดแทรกให้เด็กมีวินัย
      เเละตอนท้ายชั่วโมงอาจารย์สั่งให้คิดเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยเเละให้นำอุปกรณ์มาทำในอาทิตย์หน้าค่ะ

อนุทินครั้งที่13



วันนี้ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากหยุดสงกรานต์

อนุทินครั้งที่12



  อาจารย์ได้พาไปศึกษานอกสถานที่

อนุทินครั้งที่10






ความหมายของคำว่า
จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
"จริยธรรม" คือหลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดีที่เหมาะที่ควร
"จริยธรรม"คือหลักคำสอนที่ว่าด้วยเเนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการเเละเป็นที่ยอมรับนับถือ

ส่วนความหมายเเม่การนำไปสู่การปฏิบัตินั้นจริยธรรม มีความหมายตามที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าจริยธรรม
เป็นแนวทางที่เเสดงให้เห็นถึงวิธีการประพฤติ
การพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีจริยธรรมนั้นมีเเนวทางการพัฒนาโดยอาศัยทฤษฏีที่เกี่ยวข้องดังนี้
ทฤษฏีจริยธรรมตามเเนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
"โคลเบอร์ก"
เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลโดยเเบ่งออกเป็น3ระดับ คือระดับก่อนเกณฑ์ระดับเกณฑ์สังคมเเละระดับเลยเกณฑ์ของสังคม
ทฤษฏีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามเเนวคิดสกินเนอร์
"สกินเนอร์"
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นผู้เสนอทฤษฏีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ทฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามเเนวคิดของแบนดูรา
"แบนดูรา"
นักจิตวิทยาสังคมอธิบายว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้โดยสังเกตุจกตัวเเบบทั้งตัวแบบในชีวิตจริงหรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์
วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
1.การใช้วิธีการให้รางวัลเเละการลงโทษทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้คำชมเชยยกย่อง ยอมรับการเเสดงความชื่นชมไม่มากหรือน้อยไป
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย 
1.การรับรู้
2.การตอบสนอง
3.การจัดระเบียบ
4.การสร้างลักษณะนิสัย



๑.ขยัน
      ๒.ประหยัด
    ๓.ซื่อสัตย์
 ๔.มีวินัย
 ๕.สุภาพ
  ๖.สะอาด
   ๗.สามัคคี
  ๘.มีน้ำใจ


ประเมินอาจารย์

อาจารย์ได้ให้ตัวอย่างอธิบายเกี่ยวกับการส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยอย่างเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนดีมาก มีการตอบสนองเมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินตนเอง

มีความตั้งใจเรียนปานกลาง


วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่11

  



วันที่27 มีนาคม 2561


อาจารย์ให้งานไว้ตั้งต้นเทอมให้ไปหาประสบการณ์ที่โรงเรียนสังเกตุเเละถามการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยเเละนำมาเสนองานในสัปดาห์นี้เเต่ละกลุ่มก็พร้อมที่จะนำเสนอค่ะ
           
กลุ่มของพวกเราได้ไปโรงเรียนบางบัว
 บรรยากาศภายในห้องเรียน



 บรรยากาศภายนอกโรงเรียน

    ผลงานของอาจารย์

 ผลงานของเด็กปฐมวัย


และอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ






ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำได้ดีเกี่ยวกับโรงเรียนต่างๆที่เราได้ไป

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีความตั้งใจออกมานำเสนอ มีความเตรียมพร้อมดี

ประเมินตัวเอง
ยังไม่มีสมาธิในการฟังเพื่อนมากเท่าที่ควร



อนุทินครั้งที่9



 วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบ

อนุทินครั้งที่8





อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

ความหมายของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
       การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดามารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการ้ลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้เจริญเติบโตเเละยังมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม เเละสติปัญญา

ความสำคัญของพ่อเเม่ในการอบรมเลี้ยงดู
       คุณภาพเเละประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเเต่ละคนตามวียต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลในวัยทำงานนั้นจะมีคุณภาพเเละประสิทธิภาพเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึกฝนเเละประสบการณ์ที่ต่เนื่องตั้งเเต่เเรกเกิดจนถึงวัยปัจบัน

บทบาทและหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
  1.มีเจตคติที่ดีต่อเด็ก
  2.สนองความต้องการของเด็กในทุกด้าน
  3.ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีให้กับเด็ก
  4.ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อบุคคลเเละสิ่งต่างๆ
  5.ส่งเสริมความสนใจของเด็ก
  6.ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
  7.สร้างสิ่งเเวดล้อมที่ดีให้เเก่เด็ก
  8.ทำตัวเป็นครูของเด็ก
  9.การให้เเรงเสริมและการลงโทษ


  บทบาทของพ่อแม่ที่ไม่เหมาะสมในการอบรมเลี้ยงดู 
     1.การตี
     2.การขู่
     3.การให้สินบน
     4.การเยาะเย้ย
     5.การทำโทษรุนเเรงเกินไป
     6.การล่อเลียน
     7.การคาดโทษ
     8.การกระทำให้ได้รับความเจ็บปวด
     9.การทำให้ได้รับความอับอาย
    10.การเปรียบเทียบกับเด็กที่เล็กกว่า

ความสำคัญเเละวามสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เเละลูก

      ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เเละลูก หมายถึงความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกเเละความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อมเเม่นั่นเองเเต่ละคนอาจจะมีความรู้สึกต่อพ่อเเม่ต่างกัน เช่นมีคำกล่าวว่าลูกสาสมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับเเม่มากกว่าพ่อ เป็นต้น

  เจตคติของพ่อเเม่ที่มีต่อลูก 6แบบ

   1. พ่อแม่ที่รักเเละคอยช่วยเหลือเอาใจใส่ลูกมากเกินไป
   2.พ่อแม่เอาใจลูกมากเกินไป
   3.พ่อเเม่ทอดทิ้งเด็ก
   4.พ่อแม่ที่ยอมนับเด็ก
   5.พ่อเเม่ที่ชอบบังคับลูก
   6.พ่อแม่ที่ยิมจำนนต่อลูก




ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำได้ดี เข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีความตั้งใจเรียน อาจจะมีติดเล่นไปบ้าง

ประเมินตนเอง
มีความตั้งใจเรียนบางครั้ง เข้าเรียนตรงเวลา

อนุทินครั้งที่7





อาจารย์นักศึกษาหาบทความเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเเล้วมานำเสนอหน้าชั้นเรียน



ฉันได้นำเสนอบทความเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย (Health and Safety for Early Childhood Children)


สุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย (Health and Safety for Early Childhood Children) มีความสำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ครูและผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพอนามัย รวมถึงเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก เพื่อขจัดเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและพัฒนาเด็กตั้งแต่ต้น เพราะเด็กปฐมวัย หรือช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบบริบูรณ์ ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตช่วงหนึ่งของเด็ก เนื่องจากในระยะนี้ เด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเด็กมิได้มีพัฒนาการที่เด่นชัดทางด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญาที่สูงขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยในชีวิตประจำวันที่อาจขัดขวางพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่า เด็กกว่า 200 ล้านคนไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มสมรรถภาพ อันเนื่องมา จากความต้องการของเด็กเหล่านี้ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก อันจะเป็นรากฐานไปสู่การมีชีวิตที่มั่นคง และห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงอันตรายรูปแบบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้
การดูแลเรื่องสุขภาพของเด็กนั้น หากเด็กได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเพียงพอในช่วงขวบปีแรกๆ นอก จากจะทำให้ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจปัญหาทางด้านสุขภาพของเด็กแล้ว ยังอาจมีส่วนยับยั้ง หรือแก้ไขความผิดปกติทางด้านร่างกายของเด็ก ก่อนที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ในส่วนของความปลอดภัย เด็กจำเป็นต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อให้สามารถเรียนรู้และเติบโตได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เด็กจำนวนมากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในแต่ละปี โดย The Center for Disease Control ระบุว่าสาเหตุอันดับ 1 ของการบาดเจ็บและอุบัติเหตุในเด็ก เกิดจากการหกล้มและอุบัติเหตุบนท้องถนนตามลำดับ ในขณะที่ไม่มีผู้ปกครองคนใดที่จะสามารถเนรมิตโลกของลูกให้ปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่อย่างน้อยที่สุดผู้ปกครองก็สามารถสร้างเสริมความปลอดภัยให้กับลูกได้ ด้วยการพยายามลดปัจจัยเสี่ยงทุกรูปแบบ และที่สำคัญที่สุด ผู้ปกครองควรใส่ใจกับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงจัดการสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย และเอื้อประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุดอย่างเต็มกำลัง

ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?

1. สาเหตุจากปัจจัยภายใน
ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ สาเหตุอันเกิดจากปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติในตัวเด็กเอง โดยปัญหาของเด็กมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • เด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายของเด็กเอง
  • โรคภูมิแพ้หรืออาการแพ้ประเภทต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้สัตว์ปีก ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในบางกรณี
2. สาเหตุจากปัจจัยภายนอก
สำหรับปัจจัยภายนอก สิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่ มักเกิดจากเหตุดังต่อไปนี้
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถแพร่จากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่านการสัมผัส (Cross-infection)
  • การเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ตั้งแต่หลังคลอด ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของอาหารการกิน ไปจนถึงการดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของลูก
  • เด็กขาดประสบการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • อุบัติเหตุประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงถึงอุบัติเหตุที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต
  • การได้รับสารพิษ
  • การรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ

การช่วยเหลือและแก้ไขเด็กที่มีปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร?

อาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง “ทั้งชีวิตของเด็ก” ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพและความปลอดภัย ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบ ตัว นอกจากนี้ยังขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้านอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กปฐมวัย ปัญหาที่เกิดกับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ยังรวมถึงความผิดปกติที่อาจติดตัวเด็กไปได้ตลอดชีวิต อาทิเช่น เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหารมักมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง หรืออาจมีร่างกายแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต และมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย
แต่ในทางกลับกัน หากเด็กที่มีปัญหาสุขภาพหลังคลอด ได้รับการช่วยเหลือหรือรักษา ดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมมีแนวโน้มที่เด็กจะหายขาดจากความผิดปกติได้มากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้น การช่วยเหลือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กย่อมมีความสำคัญต่อชีวิตและอนาคตของเด็ก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกครอบครัวประสงค์ให้เด็กทุกคนได้กินดีอยู่ดี มีที่อยู่ ที่หลับนอนที่ปลอดภัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกหลายครอบครัวที่รายได้ไม่เพียงพอจุนเจือสมาชิกใหม่ในครอบครัว ผู้ปกครองมีการศึกษาน้อย หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ครอบครัวเหล่านี้จึงมีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้น นอก จากจะมีปัญหาสุขภาพแล้ว พวกเขาเหล่านั้นยังอาจถ่ายทอดการเลี้ยงดูในแบบที่ตนเองได้รับไปสู่ลูกหลาน เป็นวงจรที่สร้างปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยไม่สิ้นสุด และไม่อาจได้รับการแก้ไขได้ จนกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวเหล่านั้นจะดีขึ้น

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัยได้อย่างไร?

บ้านคือหัวใจสำคัญสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย ผู้ปกครองย่อมประสงค์ให้บ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีของลูก ทั้งนี้ผู้ปกครองสามารถทำบ้านให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกได้ และยังสามารถสนับ สนุนการมีสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่ลูกได้อย่างเต็มที่ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
  • ประกอบอาหารที่สะอาดและมีสารอาหารครบถ้วนให้แก่ลูก
  • ฝึกให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ เพราะหากลูกสามารถรับประทานผักและผลไม้ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ย่อมเป็นหลักประกันว่าลูกจะไม่เลือกทานเฉพาะเนื้อสัตว์ และจะได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ต่อไปในอนาคต
  • หากครอบครัวมีข้อจำกัดทางการเงิน และไม่สามารถให้ลูกรับประทานเนื้อสัตว์ได้บ่อยเท่าที่ควร ควรหาอาหารโปรตีนสูงประเภทอื่น เพื่อทดแทนสารอาหารที่ร่างกายเด็กต้องการ ในกรณีนี้ “โปรตีนเกษตร” ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สำ คัญแหล่งหนึ่งได้เช่นกัน
  • ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของทุกคนในครอบครัว โดยการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งร่วมกัน รวมถึงไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • สมาชิกในครอบครัวไม่ควรสูบบุหรี่ในขณะที่อยู่ใกล้เด็ก เพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายในตัวเด็ก รวมถึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ขาดสติ และก่อความรุนแรงแก่เด็กได้
  • สร้างสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้านให้ปลอดภัย โดยการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ กล่าวคือ เก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก อันได้แก่ อุปกรณ์ทำความสะอาดโดยเฉพาะที่อาจเป็นพิษต่อร่างกาย มีดและของมีคมให้พ้นจากมือเด็ก หรือปิดประตูห้องน้ำทุกครั้งหลังใช้งาน สำหรับภายนอกบ้านนั้น ผู้ปกครองควรจัดให้โล่ง เพื่อป้องกันการมาอยู่อาศัยของสัตว์ร้าย รวมถึงเป็นการป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากสิ่งกีดขวางทางในสนามเล่น เป็นต้น
  • ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นเพียงลำพังหรืออยู่นอกสายตาโดยไม่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย ผู้ปกครองควรให้การดูแลลูกอย่างเหมาะสมและใกล้ชิดตลอดเวลา
  • สอนหลักในการประพฤติตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต และเป็นแบบอย่างของพฤติกรรมสร้างเสริมความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่เหมาะสมให้กับลูก
  • ทำความเข้าใจกับพัฒนาการ ความสามารถ และความต้องการของลูก
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกในขณะประกอบกิจวัตรประจำวันว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด กล่าวคือ มีความปลอดภัยหรือถูกสุขลักษณะหรือไม่
  • เลือกเครื่องมือเครื่องใช้ให้เหมาะสมกับอายุและช่วงของการเจริญเติบโตของลูก
  • เลือกสิ่งที่มีมาตรฐานและปลอดภัยให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์สำหรับทำกิจ กรรมกลางแจ้ง เป็นต้น
  • ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด และสร้างกิจวัตรที่ส่งเสริมความสะอาดและปลอดภัยให้กับลูก เช่น เลือกใช้ถุงมือหรือผ้ากันเปื้อนแบบที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เลือกใช้ถังขยะที่เหมาะสมสำหรับขยะอันตราย และแยกให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของลูก ต้องดำเนินไปควบคู่กับการมอบอิสระในการเรียนรู้ และการทด ลองสิ่งต่างๆรอบตัว ซึ่งมักเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเด็ก อย่างไรก็ตาม สมดุลของทั้งสองส่วน ย่อมเกิดขึ้นได้ หากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กมีความปลอดภัย อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการมอบโอกาสให้เด็กประสบความสำเร็จ และมีความมั่นใจจากการได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ดังนั้น จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปกครองจะต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นและยอมรับในตัวลูก และในขณะเดียวกัน ก็ควรถือโอกาสเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยไปพร้อมกับทุกก้าวย่างของการเจริญเติบโตของลูกเช่นกัน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ช่วยอธิบายและสรุปบทความให้เราได้เขาใจง่ายยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน
เพื่อนนำบทความมานำเสนอให้เราได้เข้าใจง่ายขึ้น

ประเมินตัวเอง
ฉันได้นำบทความมานำเสนอผิดประเด็น และก็ได้หาบทความใหม่






อนุทินครั้งที่6

  



อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มมานำเสนอและได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักทฤษฏีพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยมีนักทฤษฎี ดังนี้


ทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
ทฤษฎีของกรีเซล
ทฤษฎีด้านจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ทฤษฎีพัฒนการด้านความคิดเข้าใจของบรุนเนอร์







ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายยกตัวอย่างให้เราเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับทฏษฎีต่างๆ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทำงานนำเสนอได้คล่องแคล่วและเข้าใจง่าย

ประเมินตัวเอง
มีความกระตือรือร้นมากขึ้น ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย

อนุทินครั้งที่5



วันที่6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561



อาจารย์ให้นำเสนอผลงานที่ได้ทำเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว และได้อธิบายสรุปความต้องการของเด็กปฐมวัยว่าครู พ่อแม่ต้องจัดการกับเด็กอย่างไร






ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้ให้อธิบายให้ได้เข้าใจถึงความต้องการของเด็กมากขึ้น

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆช่วยกันทำงาน มีการแบ่งกันนำเสนอได้ดี เสนองานได้เข้าใจง่าย

ประเมินตัวเอง
มีความกล้านำเสนองานมากขึ้น