วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่15



วันนี้อาจารย์ให้ทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่ม กลุ่มของดิฉันได้ทำข้าวผัดทูน่า และทับทิมกรอบ 


ช่วยอาจารย์ปั้นบัวลอย





ประเมินอาจารย์

อาจารย์ทำบัวลอยอร่อย ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำอาหารสำหรับเด็กได้ดี

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆช่วยกันทำงานดีมากในแต่ละกลุ่ม

ประเมินตนเอง

มีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำอาหาร ช่วยอาจารย์ปั้นบัวลอย
























วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่14




         อาจารย์ให้นำเสนองานเป็นกลุ่ม กลุ่มดิฉันได้หัวข้อมีวินัย ได้นำเสนอแบบเป็นการ์ตูนที่สอดแทรกให้เด็กมีวินัย
      เเละตอนท้ายชั่วโมงอาจารย์สั่งให้คิดเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยเเละให้นำอุปกรณ์มาทำในอาทิตย์หน้าค่ะ

อนุทินครั้งที่13



วันนี้ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากหยุดสงกรานต์

อนุทินครั้งที่12



  อาจารย์ได้พาไปศึกษานอกสถานที่

อนุทินครั้งที่10






ความหมายของคำว่า
จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
"จริยธรรม" คือหลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดีที่เหมาะที่ควร
"จริยธรรม"คือหลักคำสอนที่ว่าด้วยเเนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการเเละเป็นที่ยอมรับนับถือ

ส่วนความหมายเเม่การนำไปสู่การปฏิบัตินั้นจริยธรรม มีความหมายตามที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าจริยธรรม
เป็นแนวทางที่เเสดงให้เห็นถึงวิธีการประพฤติ
การพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีจริยธรรมนั้นมีเเนวทางการพัฒนาโดยอาศัยทฤษฏีที่เกี่ยวข้องดังนี้
ทฤษฏีจริยธรรมตามเเนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
"โคลเบอร์ก"
เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลโดยเเบ่งออกเป็น3ระดับ คือระดับก่อนเกณฑ์ระดับเกณฑ์สังคมเเละระดับเลยเกณฑ์ของสังคม
ทฤษฏีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามเเนวคิดสกินเนอร์
"สกินเนอร์"
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นผู้เสนอทฤษฏีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ทฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามเเนวคิดของแบนดูรา
"แบนดูรา"
นักจิตวิทยาสังคมอธิบายว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้โดยสังเกตุจกตัวเเบบทั้งตัวแบบในชีวิตจริงหรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์
วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
1.การใช้วิธีการให้รางวัลเเละการลงโทษทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้คำชมเชยยกย่อง ยอมรับการเเสดงความชื่นชมไม่มากหรือน้อยไป
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย 
1.การรับรู้
2.การตอบสนอง
3.การจัดระเบียบ
4.การสร้างลักษณะนิสัย



๑.ขยัน
      ๒.ประหยัด
    ๓.ซื่อสัตย์
 ๔.มีวินัย
 ๕.สุภาพ
  ๖.สะอาด
   ๗.สามัคคี
  ๘.มีน้ำใจ


ประเมินอาจารย์

อาจารย์ได้ให้ตัวอย่างอธิบายเกี่ยวกับการส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยอย่างเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนดีมาก มีการตอบสนองเมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินตนเอง

มีความตั้งใจเรียนปานกลาง


วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่11

  



วันที่27 มีนาคม 2561


อาจารย์ให้งานไว้ตั้งต้นเทอมให้ไปหาประสบการณ์ที่โรงเรียนสังเกตุเเละถามการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยเเละนำมาเสนองานในสัปดาห์นี้เเต่ละกลุ่มก็พร้อมที่จะนำเสนอค่ะ
           
กลุ่มของพวกเราได้ไปโรงเรียนบางบัว
 บรรยากาศภายในห้องเรียน



 บรรยากาศภายนอกโรงเรียน

    ผลงานของอาจารย์

 ผลงานของเด็กปฐมวัย


และอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ






ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำได้ดีเกี่ยวกับโรงเรียนต่างๆที่เราได้ไป

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีความตั้งใจออกมานำเสนอ มีความเตรียมพร้อมดี

ประเมินตัวเอง
ยังไม่มีสมาธิในการฟังเพื่อนมากเท่าที่ควร



อนุทินครั้งที่9



 วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบ

อนุทินครั้งที่8





อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

ความหมายของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
       การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดามารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการ้ลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้เจริญเติบโตเเละยังมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม เเละสติปัญญา

ความสำคัญของพ่อเเม่ในการอบรมเลี้ยงดู
       คุณภาพเเละประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเเต่ละคนตามวียต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลในวัยทำงานนั้นจะมีคุณภาพเเละประสิทธิภาพเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึกฝนเเละประสบการณ์ที่ต่เนื่องตั้งเเต่เเรกเกิดจนถึงวัยปัจบัน

บทบาทและหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
  1.มีเจตคติที่ดีต่อเด็ก
  2.สนองความต้องการของเด็กในทุกด้าน
  3.ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีให้กับเด็ก
  4.ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อบุคคลเเละสิ่งต่างๆ
  5.ส่งเสริมความสนใจของเด็ก
  6.ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
  7.สร้างสิ่งเเวดล้อมที่ดีให้เเก่เด็ก
  8.ทำตัวเป็นครูของเด็ก
  9.การให้เเรงเสริมและการลงโทษ


  บทบาทของพ่อแม่ที่ไม่เหมาะสมในการอบรมเลี้ยงดู 
     1.การตี
     2.การขู่
     3.การให้สินบน
     4.การเยาะเย้ย
     5.การทำโทษรุนเเรงเกินไป
     6.การล่อเลียน
     7.การคาดโทษ
     8.การกระทำให้ได้รับความเจ็บปวด
     9.การทำให้ได้รับความอับอาย
    10.การเปรียบเทียบกับเด็กที่เล็กกว่า

ความสำคัญเเละวามสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เเละลูก

      ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เเละลูก หมายถึงความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกเเละความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อมเเม่นั่นเองเเต่ละคนอาจจะมีความรู้สึกต่อพ่อเเม่ต่างกัน เช่นมีคำกล่าวว่าลูกสาสมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับเเม่มากกว่าพ่อ เป็นต้น

  เจตคติของพ่อเเม่ที่มีต่อลูก 6แบบ

   1. พ่อแม่ที่รักเเละคอยช่วยเหลือเอาใจใส่ลูกมากเกินไป
   2.พ่อแม่เอาใจลูกมากเกินไป
   3.พ่อเเม่ทอดทิ้งเด็ก
   4.พ่อแม่ที่ยอมนับเด็ก
   5.พ่อเเม่ที่ชอบบังคับลูก
   6.พ่อแม่ที่ยิมจำนนต่อลูก




ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำได้ดี เข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีความตั้งใจเรียน อาจจะมีติดเล่นไปบ้าง

ประเมินตนเอง
มีความตั้งใจเรียนบางครั้ง เข้าเรียนตรงเวลา

อนุทินครั้งที่7





อาจารย์นักศึกษาหาบทความเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเเล้วมานำเสนอหน้าชั้นเรียน



ฉันได้นำเสนอบทความเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย (Health and Safety for Early Childhood Children)


สุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย (Health and Safety for Early Childhood Children) มีความสำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ครูและผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพอนามัย รวมถึงเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก เพื่อขจัดเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและพัฒนาเด็กตั้งแต่ต้น เพราะเด็กปฐมวัย หรือช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบบริบูรณ์ ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตช่วงหนึ่งของเด็ก เนื่องจากในระยะนี้ เด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเด็กมิได้มีพัฒนาการที่เด่นชัดทางด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญาที่สูงขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยในชีวิตประจำวันที่อาจขัดขวางพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่า เด็กกว่า 200 ล้านคนไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มสมรรถภาพ อันเนื่องมา จากความต้องการของเด็กเหล่านี้ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก อันจะเป็นรากฐานไปสู่การมีชีวิตที่มั่นคง และห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงอันตรายรูปแบบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้
การดูแลเรื่องสุขภาพของเด็กนั้น หากเด็กได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเพียงพอในช่วงขวบปีแรกๆ นอก จากจะทำให้ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจปัญหาทางด้านสุขภาพของเด็กแล้ว ยังอาจมีส่วนยับยั้ง หรือแก้ไขความผิดปกติทางด้านร่างกายของเด็ก ก่อนที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ในส่วนของความปลอดภัย เด็กจำเป็นต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อให้สามารถเรียนรู้และเติบโตได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เด็กจำนวนมากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในแต่ละปี โดย The Center for Disease Control ระบุว่าสาเหตุอันดับ 1 ของการบาดเจ็บและอุบัติเหตุในเด็ก เกิดจากการหกล้มและอุบัติเหตุบนท้องถนนตามลำดับ ในขณะที่ไม่มีผู้ปกครองคนใดที่จะสามารถเนรมิตโลกของลูกให้ปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่อย่างน้อยที่สุดผู้ปกครองก็สามารถสร้างเสริมความปลอดภัยให้กับลูกได้ ด้วยการพยายามลดปัจจัยเสี่ยงทุกรูปแบบ และที่สำคัญที่สุด ผู้ปกครองควรใส่ใจกับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงจัดการสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย และเอื้อประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุดอย่างเต็มกำลัง

ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?

1. สาเหตุจากปัจจัยภายใน
ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ สาเหตุอันเกิดจากปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติในตัวเด็กเอง โดยปัญหาของเด็กมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • เด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายของเด็กเอง
  • โรคภูมิแพ้หรืออาการแพ้ประเภทต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้สัตว์ปีก ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในบางกรณี
2. สาเหตุจากปัจจัยภายนอก
สำหรับปัจจัยภายนอก สิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่ มักเกิดจากเหตุดังต่อไปนี้
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถแพร่จากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่านการสัมผัส (Cross-infection)
  • การเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ตั้งแต่หลังคลอด ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของอาหารการกิน ไปจนถึงการดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของลูก
  • เด็กขาดประสบการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • อุบัติเหตุประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงถึงอุบัติเหตุที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต
  • การได้รับสารพิษ
  • การรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ

การช่วยเหลือและแก้ไขเด็กที่มีปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร?

อาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง “ทั้งชีวิตของเด็ก” ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพและความปลอดภัย ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบ ตัว นอกจากนี้ยังขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้านอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กปฐมวัย ปัญหาที่เกิดกับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ยังรวมถึงความผิดปกติที่อาจติดตัวเด็กไปได้ตลอดชีวิต อาทิเช่น เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหารมักมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง หรืออาจมีร่างกายแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต และมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย
แต่ในทางกลับกัน หากเด็กที่มีปัญหาสุขภาพหลังคลอด ได้รับการช่วยเหลือหรือรักษา ดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมมีแนวโน้มที่เด็กจะหายขาดจากความผิดปกติได้มากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้น การช่วยเหลือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กย่อมมีความสำคัญต่อชีวิตและอนาคตของเด็ก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกครอบครัวประสงค์ให้เด็กทุกคนได้กินดีอยู่ดี มีที่อยู่ ที่หลับนอนที่ปลอดภัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกหลายครอบครัวที่รายได้ไม่เพียงพอจุนเจือสมาชิกใหม่ในครอบครัว ผู้ปกครองมีการศึกษาน้อย หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ครอบครัวเหล่านี้จึงมีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้น นอก จากจะมีปัญหาสุขภาพแล้ว พวกเขาเหล่านั้นยังอาจถ่ายทอดการเลี้ยงดูในแบบที่ตนเองได้รับไปสู่ลูกหลาน เป็นวงจรที่สร้างปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยไม่สิ้นสุด และไม่อาจได้รับการแก้ไขได้ จนกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวเหล่านั้นจะดีขึ้น

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัยได้อย่างไร?

บ้านคือหัวใจสำคัญสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย ผู้ปกครองย่อมประสงค์ให้บ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีของลูก ทั้งนี้ผู้ปกครองสามารถทำบ้านให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกได้ และยังสามารถสนับ สนุนการมีสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่ลูกได้อย่างเต็มที่ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
  • ประกอบอาหารที่สะอาดและมีสารอาหารครบถ้วนให้แก่ลูก
  • ฝึกให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ เพราะหากลูกสามารถรับประทานผักและผลไม้ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ย่อมเป็นหลักประกันว่าลูกจะไม่เลือกทานเฉพาะเนื้อสัตว์ และจะได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ต่อไปในอนาคต
  • หากครอบครัวมีข้อจำกัดทางการเงิน และไม่สามารถให้ลูกรับประทานเนื้อสัตว์ได้บ่อยเท่าที่ควร ควรหาอาหารโปรตีนสูงประเภทอื่น เพื่อทดแทนสารอาหารที่ร่างกายเด็กต้องการ ในกรณีนี้ “โปรตีนเกษตร” ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สำ คัญแหล่งหนึ่งได้เช่นกัน
  • ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของทุกคนในครอบครัว โดยการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งร่วมกัน รวมถึงไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • สมาชิกในครอบครัวไม่ควรสูบบุหรี่ในขณะที่อยู่ใกล้เด็ก เพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายในตัวเด็ก รวมถึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ขาดสติ และก่อความรุนแรงแก่เด็กได้
  • สร้างสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้านให้ปลอดภัย โดยการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ กล่าวคือ เก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก อันได้แก่ อุปกรณ์ทำความสะอาดโดยเฉพาะที่อาจเป็นพิษต่อร่างกาย มีดและของมีคมให้พ้นจากมือเด็ก หรือปิดประตูห้องน้ำทุกครั้งหลังใช้งาน สำหรับภายนอกบ้านนั้น ผู้ปกครองควรจัดให้โล่ง เพื่อป้องกันการมาอยู่อาศัยของสัตว์ร้าย รวมถึงเป็นการป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากสิ่งกีดขวางทางในสนามเล่น เป็นต้น
  • ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นเพียงลำพังหรืออยู่นอกสายตาโดยไม่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย ผู้ปกครองควรให้การดูแลลูกอย่างเหมาะสมและใกล้ชิดตลอดเวลา
  • สอนหลักในการประพฤติตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต และเป็นแบบอย่างของพฤติกรรมสร้างเสริมความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่เหมาะสมให้กับลูก
  • ทำความเข้าใจกับพัฒนาการ ความสามารถ และความต้องการของลูก
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกในขณะประกอบกิจวัตรประจำวันว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด กล่าวคือ มีความปลอดภัยหรือถูกสุขลักษณะหรือไม่
  • เลือกเครื่องมือเครื่องใช้ให้เหมาะสมกับอายุและช่วงของการเจริญเติบโตของลูก
  • เลือกสิ่งที่มีมาตรฐานและปลอดภัยให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์สำหรับทำกิจ กรรมกลางแจ้ง เป็นต้น
  • ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด และสร้างกิจวัตรที่ส่งเสริมความสะอาดและปลอดภัยให้กับลูก เช่น เลือกใช้ถุงมือหรือผ้ากันเปื้อนแบบที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เลือกใช้ถังขยะที่เหมาะสมสำหรับขยะอันตราย และแยกให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของลูก ต้องดำเนินไปควบคู่กับการมอบอิสระในการเรียนรู้ และการทด ลองสิ่งต่างๆรอบตัว ซึ่งมักเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเด็ก อย่างไรก็ตาม สมดุลของทั้งสองส่วน ย่อมเกิดขึ้นได้ หากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กมีความปลอดภัย อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการมอบโอกาสให้เด็กประสบความสำเร็จ และมีความมั่นใจจากการได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ดังนั้น จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปกครองจะต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นและยอมรับในตัวลูก และในขณะเดียวกัน ก็ควรถือโอกาสเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยไปพร้อมกับทุกก้าวย่างของการเจริญเติบโตของลูกเช่นกัน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ช่วยอธิบายและสรุปบทความให้เราได้เขาใจง่ายยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน
เพื่อนนำบทความมานำเสนอให้เราได้เข้าใจง่ายขึ้น

ประเมินตัวเอง
ฉันได้นำบทความมานำเสนอผิดประเด็น และก็ได้หาบทความใหม่






อนุทินครั้งที่6

  



อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มมานำเสนอและได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักทฤษฏีพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยมีนักทฤษฎี ดังนี้


ทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
ทฤษฎีของกรีเซล
ทฤษฎีด้านจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ทฤษฎีพัฒนการด้านความคิดเข้าใจของบรุนเนอร์







ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายยกตัวอย่างให้เราเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับทฏษฎีต่างๆ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทำงานนำเสนอได้คล่องแคล่วและเข้าใจง่าย

ประเมินตัวเอง
มีความกระตือรือร้นมากขึ้น ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย

อนุทินครั้งที่5



วันที่6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561



อาจารย์ให้นำเสนอผลงานที่ได้ทำเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว และได้อธิบายสรุปความต้องการของเด็กปฐมวัยว่าครู พ่อแม่ต้องจัดการกับเด็กอย่างไร






ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้ให้อธิบายให้ได้เข้าใจถึงความต้องการของเด็กมากขึ้น

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆช่วยกันทำงาน มีการแบ่งกันนำเสนอได้ดี เสนองานได้เข้าใจง่าย

ประเมินตัวเอง
มีความกล้านำเสนองานมากขึ้น





วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่4




วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2561

อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มที่จะไปโรงเรียนสาธิต และได้วางแผนวันที่จะไป เพื่อเราจะได้เตรียมตัว
หลังจากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกันทำงานในห้อง หัวข้อความต้องการของเด็กปฐมวัย ครู พ่อแม่ต้องจัดการกับเด็กอย่างไร






ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำดีเกี่ยวกับงาน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆช่วยกันทำงาน ตั้งใจเรียนดี
ประเมินตัวเอง
มีความสนใจงานมากขึ้น

วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่3



บทที่ 2 ทฤษฏีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

ᗙทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ᗙทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ᗙทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
ᗙทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล
ᗚทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์
ᗚทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

อาจารย์ให้ดูคลิป ฟ้ามีตา ตอนลูกของเราน่ารักที่สุดในโลก

เมื่อดูจบอาจารย์ให้วิเคราะห์ว่า พ่อแม่ของเด็กเป็นยังไง คุณครูเป็นยังไง และตัวเด็กมีนิสัยอย่างไร การที่พ่อแม่เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนแบบผิดๆก็อาจทำให้เด็กเกิดการสับสนว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ถูกสิ่งใดคือสิ่งที่ผิด เราควรดูแลเด็กสั่งสอนในสิ่งที่ถูก เพราะเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวที่เราควรดูแลอย่างใกล้ชิด

ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายได้เข้าใจง่าย มีตัวอย่างเป็นละครมาให้ดูเพื่อความง่ายต่อการเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนในห้องสนใจงานดีมาก

ประเมินตนเอง
มีความตั้งใจดี

อนุทินครั้งที่2



บทที่ 1 เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ


เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี มีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย ช่างซักถาม ชอบค้นคว้า สำรวจ อยู่ไม่นิ่ง ชอบอิสระเป็นตัวของตัวเอง เป็นวัยที่กำลังพัฒนาคุณภาพชีวิตทางร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญาอย่างเต็มที่


อาจารย์ได้อธิบายถึงธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

➤ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
➤ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
➤ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก หรือตนสนใจ
➤มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
➤มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
➤มีอารมณ์รุนแรง มีความอิจฉาริษยาสูง
➤พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น
➤ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ แสวงหารางวัลด้วยการกระทำ

อาจารย์ให้ดูคลิปตั้งแต่ปฏิสนธิและตอนที่คลอดออกมาเป็นทารก


ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนได้น่าสนใจมีคลิปวีดีโอให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน สนใจเรียนดีมาก

ประเมินตัวเอง
มีความสนใจในวิชาเรียนนี้มากขึ้น

อนุทินครั้งที่1



การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยChild Care for Early Childhood  


วันนี้เรียนวันแรกอาจารย์ได้บอกรายละเอียดของวิชานี้ แนะนำงานว่าเทอมนี้มีงานอะไรบ้าง และควรแบ่งเวลายังไง

โดยหลังจากการเรียนวิชานี้จบผู้เรียนควรมีพฤติกรรม ดังนี้

          1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรม

1.1  มีความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละ
1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3  เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.4  เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของสาขาวิชา คณะฯ และมหาวิทยาลัย
1.5  มีสัมมาคารวะให้ความเคารพต่อครู อาจารย์ และผู้อาวุโส

          2.  ด้านความรู้

                   2.1 เพื่อให้นักศึกษาอธิบายพัฒนาการและทฤษฎีพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปีได้
                   2.2 เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างของพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยได้
                   2.3 เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีพัฒนาการเพื่อนำไปใช้อบรมเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด - 5ปีได้
                   2.4 เพื่อให้นักศึกษาอธิบายวิธีส่งเสริมพัฒนาการและหลักในการการอบรมเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด -  
5 ปีได้
                    2.5 เพื่อให้นักศึกษาบอกวิธีปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สวัสดิศึกษา โภชนาการของเด็กปฐมวัย และการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยได้
                   2.6 เพื่อให้นักศึกษาบอกบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและ
                          การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามบริบทของสังคม ชุมชนและสื่อมวลชนไทยได้

          3.  ด้านทักษะทางปัญญา

3.1  สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
3.2  สามารถสืบค้น ตีความ ประเมินปัญหาสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเทคนิค วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
                   3.3  สามารถวิเคราะห์ปัญหา สรุปปัญหา ความต้องการเพื่อนำไปใช้พัฒนาตนเอง
                   3.4  สามารถประยุกต์ความรู้นำไปใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

          4.  ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

                   4.1  สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร การนำเสนอได้ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                   4.2  สามารถให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งบทบาทการเป็นผู้นำ
                           และผู้ร่วมงาน และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปฐมวัย พ่อแม่ผู้ปกครอง
                   4.3  สามารถเป็นผู้ริเริ่มประเด็นปัญหา และหารือแนวทางแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ
                           ทั้งของตนเองและกลุ่ม
                   4.4  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ของตนในวิชาชีพครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง

          5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                   5.1  มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้
                          ประสบการณ์ในการเรียนวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
5.2  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อมานำเสนอได้อย่างเหมาะสม
                   5.3  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

          6. การพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้

                   6.มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกที่จะสอนอย่างบูรณาการ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์วางแผนงานให้ได้อย่างเหมาะสม 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนในห้องร่วมกันวางแผนการทำงานได้ดี

ประเมินตนเอง
มีการเตรียมพร้อมการเรียนได้อย่างเหมาะสม